คปอ. หรือ คณะกรรมการความปลอดภัยต้องจัดให้มีเพื่อความปลอดภัย

สถานประกอบกิจการ ต้องจัดให้มี คปอ. หรือ คณะกรรมการความปลอดภัย

คณะกรรมการความปลอดภัยมีบทบาทที่สำคัญช่วยให้พื้นที่การทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกิดความปลอดภัย เรามักจะพบว่าบ่อยครั้งที่เกิดอุบัติเหตุสาเหตุมาจาก ไม่ได้มีการตรวจความปลอดภัยในพื้นที่การทำงานหรือมาจากไม่มีความพร้อมอุปกรณ์การทำงานที่ได้มาตรฐาน สิ่งเหล่านี้มีความจำเป็นจะต้องทำการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ

โดยคณะกรรมการความปลอดภัยที่ได้รับ การแต่งตั้งถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด โดยนายจ้างคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมีความรู้ความเข้าใจสามารถวิเคราะห์และแยกแยะอันตรายต่างๆได้อย่างถูกต้อง เป็นผู้อาวุโสในบริษัทหรือไลน์ผลิตนั้นๆ

ตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การปราศจากอันตรายและอุบัติเหตุขณะทำงานคือ มุ่งหมายใหญ่ที่จะทำให้บริษัทหรือองค์กรนั้นนั้นเกิดความยั่งยืนในการดำเนินกิจการรวมไปถึงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆเช่นสารเคมีอันตรายน้ำเสียควันพิษสถานประกอบการควรจะต้องใส่ใจเรื่องเหล่านี้เป็นอย่างมากเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบบริเวณรอบชุมชนที่ดำเนินกิจการ

จึงมีความจำเป็นที่ในสถานประกอบการจะต้องมีคณะกรรมการความปลอดภัยเพื่อทำการตรวจสอบเรื่องราวต่างๆให้อยู่ในมาตรฐานกำหนดหรือสอดคล้องกับข้อกฎหมายด้านความปลอดภัยอาชีวะอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความถูกต้องหรือไม่คณะกรรมการความปลอดภัยจะเป็นผู้ตรวจสอบและนำเสนอต่อนายจ้างเป็นประจำทุกเดือนเพื่อทำการหามาตรการป้องกันแก้ไขปัญหา

 

 

อุบัติเหตุจากการทำงานเกิดจาก 3 ปัจจัยได้แก่

  1. สภาพการไม่ปลอดภัยหมายถึงอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรและพื้นที่การทำงานไม่เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยเช่นพื้นที่มีน้ำขังแสงสว่างไม่เพียงพอออหรืออุปกรณ์เครื่องมือการทำงานชำรุดไม่ได้รับการตรวจสอบหรือถูกแก้ไขดัดแปลงให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิมไม่ตรงตามที่ ผู้ผลิตกำหนดเอาไว้ตั้งแต่ต้น
  2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัยหรือไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจนและหรือพนักงานรัฐขั้นตอนในการทำงานทำให้เกิดอุบัติเหตุ
  3. ความประมาทของตัวบุคคลเช่นมี นิสัยชอบเสี่ยงอันตรายไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในการทำงานหยอกล้อเล่นกันในเวลางานหรือทำงานโดยร่างกายไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมปฎิบัติงาน

คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวะอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน จะมีวาระในการปฏิบัติงานอยู่ที่สองปีในทุกๆสองปี จะต้องทำการเลือกตั้งใหม่ โดยการให้พนักงานทั้งโรงงานเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง แต่ส่วนฝั่งนายจ้างสามารถแต่งตั้งผู้ที่มีคุณสมบัติความเหมาะสมโดยความเห็นชอบจากผู้จัดการได้เลยส่วนฝ่ายลูกจ้างจะต้องทำการเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานโดยหลังจากเลือกตั้งและแต่งตั้งแล้วจะต้องไปอบรม คปอ เพื่อทราบถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองตามกฎหมาย

 

 

บทบาทหน้าที่ คปอ

  1. พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
  2. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
  3. ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการ
  4. พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
  5. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
  6. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
  7. วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
  8. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
  9. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
  10. ประเมิณผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  11. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

 

แนะนำศูนย์ฝึกอบรม จป คปอ ราคาย่อมเยา หลักสูตรมาตรฐาน

  1. อบรม คปอ (จป. ไทย)
  2. อบรมคปอ (thaisafe)

ทั้ง 2 สถาบันอบรมมีเนื้อหา รูปแบบการอบรม รวมถึงวิทยากรที่มึคุณสมบัติพร้อมตามกฎหมายกำหนด ให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำวุฒิบัตรหลังผ่านการอบรมไปขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการฯ ได้อย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย ไม่เสียเวลาในการเข้าร่วมอบรม คุณสามารถเลือกใช้บริการอบรม คปอ ได้ทั้งรูปแบบบุคคลทั่วไป และ อินเฮ้าส์